วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ชนิดของฟังก์ชัน

ชนิดของฟังก์ชัน (Type of function)

1.2.1 ฟังก์ชันเพิ่ม (Increasing function)
         สำหรับ 
  f  เป็นฟังก์ชันเพิ่มใน  A  ก็ต่อเมื่อ สำหรับ  ถ้า  แล้ว 

พิจารณาแผนภาพ ด้านล่างต่อไปนี้

1.2.2 ฟังก์ชันลด (Decreasing function)
      สำหรับ 
f  เป็นฟังก์ชันลดใน A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ  ถ้า  แล้ว 

พิจารณาแผนภาพ ด้านล่างต่อไปนี้

1.2.3 ฟังก์ชันพหุนาม (Polynomial function)
    ฟังก์ชันพหุนาม  คือฟังก์ชันที่ถูกเขียนอยู่ในรูป โดยที่เป็นค่าคงที่ และ  เป็นจำนวนเต็มบวกซึ่งมากกว่าหรือเท่ากับศูนย์

    ความหมายของฟังก์ชันจากพจนานุกรม

    ความหมายของฟังก์ชันจากพจนานุกรม

     หมายถึงเซตของคู่อันดับที่มีสมาชิคตัวหน้าไม่ซ้ำกันบับตัวด้านหลัง

    ประวัติการเกิดฟังก์ชัน


    ประวัติการเกิดฟังก์ชัน

    ในทางคณิตศาสตร์ "ฟังก์ชัน" บัญญัติขึ้นโดย ไลบ์นิซ ใน พ.ศ. 2237 เพื่ออธิบายปริมาณที่เกี่ยวข้องกับเส้นโค้ง เช่น ความชันของเส้นโค้ง หรือจุดบนเส้นโค้ง ฟังก์ชันที่ไลบ์นิซพิจารณานั้นในปัจจุบันเรียกว่า ฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ และเป็นชนิดของฟังก์ชันที่มักจะแก้ด้วยผู้ที่ไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ สำหรับฟังก์ชันชนิดนี้ เราสามารถพูดถึงลิมิตและอนุพันธ์ ซึ่งเป็นการทฤษฎีเซต พวกเขาได้พยายามนิยามวัตถุทางคณิตศาสตร์ทั้งหมดด้วย เซต ดีริคเลท และ โลบาเชฟสกี ได้ให้นิยามสมัยใหม่ของฟังก์ชันออกมาเกือบพร้อมๆกัน
    ในคำนิยามนี้ ฟังก์ชันเป็นเพียงกรณีพิเศษของความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม เป็นกรณีที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ ความแตกต่างระหว่างคำนิยามสมัยใหม่กับคำนิยามของออยเลอร์นั้นเล็กน้อยมาก



    บทนำ

    บทนำ

    แนวคิดที่สำคัญที่สุดคือ ฟังก์ชันนั้นเป็น "กฎ" ที่กำหนด ผลลัพธ์โดยขึ้นกับสิ่งที่นำเข้ามา ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง
    • แต่ละคนจะมีสีที่ตนชอบ (แดง, ส้ม, เหลือง, เขียว, ฟ้า, น้ำเงิน, คราม หรือม่วง) สีที่ชอบเป็นฟังก์ชันของแต่ละคน เช่น จอห์นชอบสีแดง แต่คิมชอบสีม่วง ในที่นี้สิ่งที่นำเข้าคือคน และผลลัพธ์คือ 1 ใน 8 สีดังกล่าว
    • มีเด็กบางคนขายน้ำมะนาวในช่วงฤดูร้อน จำนวนน้ำมะนาวที่ขายได้เป็นฟังก์ชันของอุณหภูมิภายนอก ตัวอย่างเช่น ถ้าภายนอกมีอุณหภูมิ 85 องศา จะขายได้ 10 แก้ว แต่ถ้าอุณหภูมิ 95 องศา จะขายได้ 25 แก้ว ในที่นี้ สิ่งที่นำเข้าคืออุณหภูมิ และผลลัพธ์คือจำนวนน้ำมะนาวที่ขายได้
    • ก้อนหินก้อนหนึ่งปล่อยลงมาจากชั้นต่างๆของตึกสูง ถ้าปล่อยจากชั้นที่สอง จะใช้เวลา 2 วินาที และถ้าปล่อยจากชั้นที่แปด จะใช้เวลา (เพียง) 4 วินาที ในที่นี้ สิ่งนำเข้าคือชั้น และผลลัพธ์คือระยะเวลาเป็นวินาที ฟังก์ชันนี้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง เวลาที่ก้อนหินใช้ตกถึงพื้นกับชั้นที่มันถูกปล่อยลงมา 
    "กฎ" ที่นิยามฟังก์ชันอาจเป็น สูตรความสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์) หรือเป็นแค่ตารางที่ลำดับผลลัพธ์กับสิ่งที่นำเข้า ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของฟังก์ชันคือมันจะมีผลลัพธ์เหมือนเดิมตลอดเมื่อให้สิ่งนำเข้าเหมือนเดิม ลักษณะนี้ทำให้เราเปรียบเทียบฟังก์ชันกับ "เครื่องกล" หรือ "กล่องดำ" ที่จะเปลี่ยนสิ่งนำเข้าไปเป็นผลลัพธ์ที่ตายตัว เรามักจะเรียกสิ่งนำเข้าว่า อาร์กิวเมนต์ (argument) และเรียกผลลัพธ์ว่า ค่า (value) ของฟังก์ชัน
    ชนิดของฟังก์ชันธรรมดาเกิดจากที่ทั้งอาร์กิวเมนต์และค่าของฟังก์ชันเป็นตัวเลขทั้งคู่ ความสัมพันธ์ของฟังก์ชันมักจะเขียนในรูปสูตร และจะได้ค่าของฟังก์ชันมาทันทีเพียงแทนที่อาร์กิวเมนต์ลงในสูตร เช่น
    ซึ่งจะได้ค่ากำลังสองของ x ใดๆ
    โดยนัยทั่วไปแล้ว ฟังก์ชันจะสามารถมีได้มากกว่าหนึ่งอาร์กิวเมนต์ เช่น
    เป็นฟังก์ชันที่นำตัวเลข x และ y มาหาผลคูณ ดูเหมือนว่านี่ไม่ใช่ฟังก์ชันจริงๆดังที่เราได้อธิบายข้างต้น เพราะว่า "กฎ" ขึ้นอยู่กับสิ่งนำเข้า 2 สิ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราคิดว่าสิ่งนำเข้า 2 สิ่งนี้เป็น คู่อันดับ  1 คู่ เราก็จะสามารถแปลได้ว่า g เป็นฟังก์ชัน โดยที่อาร์กิวเมนต์คือคู่อันดับ  และค่าของฟังก์ชันคือ 
    ในวิทยาศาสตร์ เรามักจะต้องเผชิญหน้ากับฟังก์ชันที่ไม่ได้กำหนดขึ้นจากสูตร เช่นอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง นี่เป็นฟังก์ชันที่มีสถานที่และเวลาเป็นอาร์กิวเมนต์ และให้ผลลัพธ์เป็นอุณหภูมิของสถานที่และเวลานั้นๆ
    เราได้เห็นแล้วว่าแนวคิดของฟังก์ชันไม่ได้จำกัดอยู่แค่การคำนวณด้วยตัวเลขเท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่แค่การคำนวณด้วย แนวคิดของคณิตศาสตร์เกี่ยวกับฟังก์ชัน เป็นแนวคิดโดยทั่วไปและไม่ได้จำกัดอยู่แค่สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขเท่านั้น แน่นอนว่าฟังก์ชันเชื่อมโยง "โดเมน" (เซตของสิ่งนำเข้า) เข้ากับ "โคโดเมน" (เซตของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้) ดังนั้นสมาชิกแต่ละตัวของโดเมนจะจับคู่กับสมาชิกตัวใดตัวหนึ่งของโคโดเมนเท่านั้น ฟังก์ชันนั้นนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นอน ดังที่จะกล่าวต่อไป เป็นเหตุจากลักษณะทั่วไปนี้ แนวคิดรวบยอดของฟังก์ชันจึงเป็นพื้นฐานของทุกสาขาในคณิตศาสตร์


    เทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง

    เทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง


              หลังจากที่ในบทความก่อนๆเราได้พูดถึงเทคนิคการเรียนชีวะ และฟิสิกส์ไปแล้ววันนี้ Top-A tutor มีบทความดีๆเกี่ยวกับเทคนิคการ เรียนคณิตศาสตร์ ให้เก่งมาฝากทุกคนกันครับ เพราะคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญมากในชีวิตการเรียน ไม่ว่าจะเรียนสายศิลป์ สายวิทย์ ก็ต้อง เรียนคณิตศาสตร์ กันหมดหลายๆคนเสียเงินมากมายไป ติวคณิตศาสตร์ ตามสถาบันดังๆเพื่อหวังว่าจะเก่งขึ้น แต่ก็อาจจะยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ลองอ่านบทความต่อไปนี้ดูนะครับแล้วจะรู้ว่าการ เรียนคณิตศาสตร์ ให้เก่งไม่ใช่เรื่องยากเท่าไหร่เลย

    1. ต้องรู้ที่มาของสูตร
              นักเรียนจำนวนมาก เรียนคณิตศาสตร์ แบบจำสูตรๆๆๆ แล้วก็แทนสูตรๆๆๆ แล้วก็หวังว่าจะได้คำตอบครับ แน่นอนว่าบางครั้งก็ได้คำตอบ บางครั้งก็ไม่ได้คำตอบ บางครั้งก็ลืมสูตรที่จำ การแก้ปัญหาง่ายมากๆเลยคือต้องเข้าใจที่มาของสูตร ว่าสูตรแต่ละสูตรพิสูจน์มาได้อย่างไร อาจจะเสียเวลาหน่อยในการหาว่าสูตรแต่ละสูตรมาได้อย่างไร แต่เชื่อเถอะครับว่ามันคุ้มค่าที่จะรู้ และจะทำให้การ เรียนคณิตศาสตร์ ของน้องๆได้ผลมากขึ้นอย่างแน่นอน
    2. หมั่นทำโจทย์บ่อยๆ
              คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยการทำโจทย์บ่อยๆ เพราะการที่ได้เจอโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์บ่อยๆนั้น จะทำให้สมองได้ฝึกคิดแก้ปัญหาโจทย์ และจำรูปแบบวิธีการแก้โจทย์ปัญหาลักษณะที่เคยทำได้ ดังนั้นเมื่อต้องลงสนามสอบคณิตศาสตร์จริงๆ ถ้าหากเจอโจทย์ลักษณะที่เคยเห็นมาก่อนแล้ว น้องจะสามารถทำโจทย์ได้อย่างรวดเร็วมาก จะได้นำเวลาที่เหลือไปทำโจทย์ข้อที่ไม่เคยเจอมาก่อนไงครับ ดังนั้นควรฝึกทำโจทย์บ่อยๆโดยอาจจะตั้งเป้าหมายว่า 1 วันต้องทำได้ 15 ข้อ อย่างนี้ก็ได้ครับ แต่อย่าลืมว่ายิ่งทำมากยิ่งได้มากนะครับ

    3. อย่าข้ามบทนิยาม
              เชื่อว่านักเรียนไม่น้อยกว่า 90% ไม่อ่านบทนิยามเมื่อ เรียนคณิตศาสตร์ เพราะอาจจะอ่านไม่รู้เรื่อง หรือแปลความหมายไม่ได้ หรือรู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ แต่นั่นเป็ความคิดที่ผิดครับ! บทนิยามเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเป็นข้อตกลงพื้นฐานในเรื่องนั้นๆ ซึ่งบทนิยามนี้เองที่จะนำไปพิสูจน์ออกมาเป็นสูตรหรือสมการให้เราได้เรียน เช่นเรื่องภาคตัดกรวยบทนิยามของวงรีคือ "เซตของคู่อันดับที่ ผลรวมของระยะทางไปถึงจุดคงที่สองจุดมีค่าเท่ากัน" เรียกจุดคงที่นั้นว่าจุดโฟกัส คนที่เรียนคณิตศาสตร์ได้เก่งจริงๆเขาสามารถเขียนสมการของกราฟวงรีได้จากนิยามโดยที่ไม่ต้องจำสมการวงรียากๆนั่นเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นจะเห็นว่าการรู้บทนิยามจะทำให้เราสามารถต่อยอดเป็นสูตร เป็นสมการ หรือจะสร้างสูตรใหม่ขึ้นมาเองก็ยังทำได้เลยครับ ดังนั้น เรียนคณิตศาสตร์ อย่าข้ามบทนิยามนะครับ
    4. จินตนาการเป็นสิ่งสำคัญ
              หลายคนอาจไม่เชื่อว่าจินตนาการนั้นเป็นสิ่งสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ แต่ถ้าหากได้ เรียนคณิตศาสตร์ ไปลึกๆแล้วนั้นจะพบว่าการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์นั้นต้องอาศัยจินตนาการเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องเรขาคณิต ที่ถ้าหากว่ามัวแต่สนใจสูตรหรือสมการเพียงอย่างเดียว อาจใช้เวลาแก้โจทย์นานกว่าการใช้จินตนาการเข้าช่วยเยอะมากๆ

    5. อย่ามองการคำนวนทุกอย่างเป็นเลขคณิต (Arithmetic)
              การคำนวนทางเลขคณิต(Arithmetic) คือการคำนวนที่เราคุ้นชินกันอยู่ทุกๆวันเช่น บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลังสอง เป็นต้น หลายๆคน เรียนคณิตศาสตร์ เรื่องใดๆก็จะนำความคิดการคำนวนแบบเลขคณิตติดตัวไปเสมอ ส่งผลให้คำตอบที่ได้นั้นผิด เช่นการคำนวนเรื่องเมทริกซ์ AxB นั้นจะไม่เท่ากับ BxA ซึ่งแตกต่างจากการคำนวนทางเลขคณิตที่มีการสลับตำแหน่งได้ หรือจะเป็น A² ที่ไม่ใช่ว่าจะสามารถกระจายยกกำลังสองเข้าไปในตัวเลขแต่ละตัวที่อยู่ในเมทริกซ์ได้เหมือนการคำนวนเลขคณิตปกติ
              ลองนำเทคนิคการ เรียนคณิตศาสตร์ เหล่านี้ไปใช้พัฒนาการ เรียนคณิตศาสตร์ของตัวเองดูนะครับ เชื่อว่าจะช่วยให้น้องๆเก่งคณิตศาสตร์ขึ้นอย่างแน่นอน ใครมีเทคนิค เคล็ดลับดีๆ อย่าลืมแชร์กันในคอมเม้นด้านล่างนะครับ


    โพสต์ล่าสุด

    ชนิดของฟังก์ชัน

    ชนิดของฟังก์ชัน ( Type of function) 1.2.1 ฟังก์ชันเพิ่ม ( Increasing function)          สำหรับ    f  เป็นฟังก์ชันเพิ่มใน  A  ก็ต่อเ...